เหตุผลที่ต้องเข้าร่วมการสัมมนา
โลกในยุค “Digital Society” มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอัตราเร่ง เปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่และเป็นไปอบ่างพลิกผัน ชนิดใครก็คาดคิดไม่ถึง ทำให้การทำธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ เปลี่ยนไป ไม่เหมือนเดิม ธุรกิจที่เคยรุ่งกลับล่วง เจ้าใหม่มา เจ้าเก่าไป ธุรกิจเกิดใหม่แทนธุรกิจเดิม เทคโนโลยีใหม่กลืนกินเทคโนโลยีที่มีอยู่
ธุรกิจในสังคมดิจิตอลจะอยู่อย่างเดิม คิดอย่างเดิมและทำอย่างเดิมไม่ได้ เพราะโลกเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน บริบทของธุรกิจเปลี่ยน เงื่อนไข กฎเกณฑ์ กติกาและวิธีการทำธุรกิจเปลี่ยน คู่แข่งเปลี่ยนและลูกค้าก็เปลี่ยน ธุรกิจต้อง “คิดใหม่และทำใหม่” ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่และวิธีบริการแบบใหม่ เพื่อต้องสนองความต้องการ อันหลากหลายและเหนือความคาดหมายของผู้บริโภคและผู้รับบริหาร การคิดแบบเดิมและทำแบบเดิมจะไปไม่รอด - ธุรกิจในโลกยุคใหม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และแปลงความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นนวัตกรรม เพื่อจะได้มีผลิตภัณฑ์ ผลงาน การบริการ การบริหารและวิธีการทำงาน ที่แปลก แหวกแนว เป็นเอกลักษณ์ มีจุดขายและเหนือคู่แข่ง - ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจยุคใหม่ เป็นปัจจัย “เชือดเฉือน” คู่แข่งในการสร้างธุรกิจ การประกอบธุรกิจ การปรับปรุงธุรกิจ การยกระดับธุรกิจ การพัฒนาธุรกิจสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งการพัฒนาการบริหารและวิธีการทำงาน
ความคิดสร้างสรรค์คือการคิดต่าง คิดนอกกรอบ คิดย้อนศร คิดแหวกแนว คิดในสิ่งที่คนอื่นไม่คิด เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น และทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ จึงเป็นผู้นำในการทำธุรกิจได้ ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกี่ยวกับ “IQ” หรือ “สติปัญญา” คนปรกติธรรมดาก็สามารถมีความคิดสร้างสรรค์สูงและสร้างนวัตกรรมได้ ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และพัฒนา หัวข้อวิชาและเนื้อหา ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์กับจิตนาการ วิสัยทัศน์และความคิดเชิงกลยุทธ์ ที่มาของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เทคนิคและวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการแก้ปัญหา (Problem Solving ) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการสร้างธุรกิจ (Building Business) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการคิดผลิตภัณฑ์ (Creating Products & Services) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการทำธุรกิจ (Doing Business) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการบริหาร (Problem Solving) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจสู่สากล ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการโฆษณา Workshop : Creating & Innovating Project Presentation : Creative & Innovative Project
ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์
เมื่อเสร็จสิ้นโครงการการฝึกอบรมและสัมมนาหลักสูตรนี้ ผู้ร่วมโครงการจะมีความรู้ ทักษะและความสามารถ 8 ประการ ต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และระบุความแตกต่างระหว่างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้
2. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ และสามารถบูรณาการและสังเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์ จินตนากร วิสัยทัศน์และกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
3. ระบุแหล่งที่มา 4 ประการของความคิดสร้างสรรค์ และอธิบายได้ว่า ปัญหา ความท้าทาย ความคิดฝันและสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่บุคคลประสบ จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์จนพัฒนาเป็นนวัตกรรมได้อย่างไร
4. จำแนกและอธิบายหลักการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 5 รูปแบบ คือ “การคิดเหมือน-ทำเหมือน” “การคิดเหมือน-ทำต่าง” “การคิดต่าง-ทำต่าง” “การคิดนอกกรอบ” และ “การคิดย้อนศร” หรือ “การคิดสวนกระแส” และนำหลักการ 5 รูปแบบมาประยุกต์เพื่อสร้างธุรกิจและพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และการบริการ
5. จำแนก อธิบายและประยุกต์เทคนิกการคิดสร้างสรรค์ “SCAMPER” ซึ่งได้แก่ หลักการทดแทน (Substitution) การประกอบ (Combination) การการปรับ (Adaption) การดัดแปลง (Modification) การใช้ในอีกงานหนึ่ง (Putting in another use) การลดหรือตัดออก (Elimination) และการจัดลำดับใหม่ (Rearrange) หรือ การทำสวนทางหรือตรงกันข้าม (Reversal)
6. นำหลักการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์เพื่อสร้างธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ประกอบธุรกิจ ปรับปรุงธุรกิจ พัฒนาธุรกิจสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งการพัฒนาการบริหาร การบริการ วิธีการทำงานและการแก้ปัญหางาน
7. คิดสร้างสรรค์โครงการนวัตกรรมใดๆ หนึ่งโครงการที่ปรารถนา และนำเสนอต่อหน่วยงานหรือสังคมอย่างสร้างสรรค์
8. ระบุคุณสมบัติที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และวิธีการพัฒนาตนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
วิธีการเรียนรู้และสัมมนา
1. บรรยาย - การตั้งคำถาม
2. การอภิปราย - ระดมสมอง
3. ตัวอย่าง - กรณีศึกษา
4. Story Telling
5. Workshop: ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
6. Presentation: ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
วิทยากร
ผศ. ดร.เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร
อดีตอาจารย์ประจำ สาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตกรรมการบริหาร สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีต อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารกำลังคนภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝึกอบรม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
คุณสมบัติผู้ร่วมสัมมนา
1. เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ
2. นักบริหาร ผู้จัดการสายงานหลัก
3. นักบริหาร ผู้จัดการและผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์
4. ผู้มีความคิดริเริ่มธุรกิจ (Startup) และผู้สนใจทั่วไป
วันสัมมนา
อบรมวันที่ 8 และ 15 พฤศจิกายน 2566
เวลา 09.00 - 16.00 น.
สถานที่สัมมนา
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 10,500 บาท
ซึ่งรวมถึง เอกสารประกอบการบรรยาย ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่างตลอดการอบรม แฟ้มเอกสาร และสมุดบันทึก วุฒิบัตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(Thammasat Consulting Networking and Coaching Center - CONC Thammasat)
ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
Mobile : 09-1119-4510 (ติดต่อ คุณเธียรทิพย์)
E-mail : conc@tbs.tu.ac.th