CONC Thammasat Forum

CONC Thammasat Forum หัวข้อ “พม่า: โอกาส การค้า การลงทุน”

download

Gallery | Pictures

CONC Thammasat Forum หัวข้อ “พม่า: โอกาส การค้า การลงทุน”

 

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับ
ศูนย์ CLMV วิจัยและพัฒนา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนา

 

CONC Thammasat  Forum   หัวข้อ “พม่า: โอกาส การค้า การลงทุน”
* สัมมนาฟรี!!!

 

วันพฤหัสที่ 29 มีนาคม 2555
ณ ห้อง F337 – 340 ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

หลักการและเหตุผล
 

         พม่ามีตลาดในประเทศขนาดใหญ่ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากถึง 48 ล้านคน และยังมีความต้องการสินค้าค่อนข้างมากหลังจากการเปิดประเทศ โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนั้น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า จะทำให้พม่ามีการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมให้มีการลงทุนในสาขาผลิตต่างๆ โดยพยายามลดบทบาทภาครัฐในการดำเนินการผลิตผ่านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการเปิดเสรีในการลงทุนมากขึ้น เช่น ธุรกิจเหมืองแร่ การก่อสร้าง การขนส่ง เป็นต้น
          เนื่องจากอาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร็งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบใหอาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ภายในปี 2563 และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ และสุขภาพ นอกจากนั้นยังให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          เป้าหมายของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนย้านปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์ กฎระเบียบเดียวกัน โดยพม่ามีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลักในด้านผลิตภัณฑ์เกษตรกร (Agro-based products) และด้านการประมง (Fisheries)
          หลังจากการเปิดประเทศเพื่อรับรองประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงนี้จะที่ให้พม่ากลายเป็นประเทศที่น่าสนใจในสายตาต่างชาติ และนำมาซึ่งสู่การลงทุนในหลายด้าน และด้วยปัจจัยที่พม่ามีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมาก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (GDP) เพียง 1 ใน 11 ของประเทศไทย มีพื้นที่มากกว่าไทยถึงร้อยละ 20 และหากการเมืองในพม่ามีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น พม่าจะกลายเป็นประเทศที่มีศักยภาพน่าลงทุนมาก
 

วัตถุประสงค์
 

  • เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาได้ทราบถึงแนวทาง  โอกาส การค้า การลงทุนที่จะสามารถดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ
  • เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาสามารถสร้างความได้เปรียบด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของไทยที่เป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ทำให้สามารถพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมเชื่อมโยงกับภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคอื่นๆ
  • เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาได้ตระหนักถึงความสำคัญของพม่าในการเป็นประตูที่สำคัญของไทยไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ และความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการขนส่ง เนื่องจากการที่มีพรมแดนติดกันทำให้สามารถพัฒนาธุรกิจที่เชื่อมโยงไทย-พม่า เช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน การพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเชื่อมโยง

กลุ่มเป้าหมาย
 

          ศิษย์เก่า  นักธุรกิจ  เจ้าของกิจการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้สนใจทั่วไป
 

วัน – เวลา – สถานที่
 

          วันพฤหัสบดีที่ 29  มีนาคม  2555

             เวลา 18.00 – 20.00 น.
              ห้อง F337 – 340 ชั้น 3 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์
             
          แผนที่ อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี


 วิทยากร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช  นิยมธรรม   
    ผู้อำนวยการศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  2. คุณวิชัย เข็มทองคำ  
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเรียลทัลยูนิค จำกัด
  3. อาจารย์ วิทยา จารุพงศ์โสภณ 
    ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและัพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์


ลักษณะการจัดกิจกรรม


          บรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากร และ ผู้เข้าร่วมสัมมนา

 

 

 

 


download



Edua
Edua